“ออฟฟิศซินโดรม” ระยะไหนต้องรักษาแบบเร่งด่วน?
1.ระยะเริ่มต้น
เริ่มมีอาการปวดเมื่อยหรือตึงล้า ขณะนั่งทำงานนาน 3-4 ชั่วโมง หากมีการเปลี่ยนอิริยาบถ นวดผ่อนคลาย หรือยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน อาการดีขึ้น 80%
วิธีการรักษา : ยังไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัด รักษาโดยการเรียนรู้วิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในแต่ละมัดที่ถูกต้องควรออกแบบเฉพาะบุคคล หรือหยุดทำกิจกรรมซ้ำๆ ที่เคยทำก่อนหน้านี้
2.ระยะซ้ำๆ หรือระยะกลาง
ระยะต่อมาร่างกายจะเริ่มปวดร้าวมากขึ้น เนื่องจากอวัยวะส่งสัญญาณบาดเจ็บออกมา โดยที่อาการปวดจะเริ่มในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงแรกของการนั่งทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงตามลำดับ และในระยะนี้อาการจะยังคงค้างอยู่ไม่หายไปไหน ควรเปลี่ยนอิริยาบถจะทำให้อาการดีขึ้นประมาณ 50-60 % ถ้าไม่รีบแก้ไขเรื่องพฤติกรรมแบบเดิมๆ อาจนำมาสู่ความรุนแรงในระยะที่ 3
รักษา : เนื่องจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อมีมากขึ้น และมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อไม่เต็มที่ ต้องรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด เช่น อัลตร้าซาวน์ ,เลเซอร์ และกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากการยืดเหยียดอาจจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวไม่เต็มที่ เมื่อตรวจประเมินพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงไม่สามารถทนทานต่อการทำกิจกรรมเดิมๆ ได้นาน จำเป็นต้องฟื้นฟูโดยการออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
3.ระยะเรื้อรัง
อาการปวดเรื้อรัง มักจะปวดอยู่ตลอดเวลา ชา อ่อนแรง จากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ตาพร่ามัว เวียนศรีษะ ไมเกรน บางครั้งคลื่นไส้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถทำงานปกติได้ บางรายนั่งทำงานยังไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็รู้สึกปวดหลัง ซึ่งสัญญาณเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดว่าร่างกายของคุณเข้าสู่ ออฟฟิศซินโดรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยระยะนี้ถ้าเป็นแล้วต้องเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
รักษา : การรักษาออฟฟิศซินโดรมแบบเข้มข้น หรือ Intensive Treatment เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมและตรงจุด เพราะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเร็วขึ้น อีกทั้งมีทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูมาร่วมวางแผนและออกแบบการรักษาเพื่อให้เห็นผลลัพท์ที่ดีที่สุด
หลักการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วย 1 ราย ประกอบไปด้วย นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่ประเมินร่างกายก่อนการรักษา และวางแผนร่วมกับ ทีมรีแฮปเทรนเนอร์ แพทย์ทางเลือก เพื่อออกแบบการรักษาให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลครอบคลุมอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพราะการฟื้นฟูใน 1 ครั้ง จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาอย่างต่อเนื่องจะทำให้อาการปวดหายอย่างยังยืน